อายุ ความสามารถ
10-12 เดือน ขีดเขียนเส้นขยุกขยิก
1-2 ปี พัฒนาจากเส้นขยุกขยิกเป็นการเลียนแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ให้ดูใน
ขณะวาดแล้วให้วาดตาม)
2-3 ปี ลอกแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ไม่ต้องให้ดูในขณะวาด)
3 ปี ลอกแบบรูปวงกลม
3-4 ปี ลอกแบบเครื่องหมายบวกและกากบาท
4-5 ปี ลอกแบบเส้นเฉียงและสี่เหลี่ยมจัตุรัส
5-6 ปี ลอกแบบรูปสามเหลี่ยม,สี่เหลี่ยมผืนผ้า,สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน,ลอกชื่อตัว
เอง(เขียนตัวใหญ่ขนาด 1.5-5 ซม.)
6-7 ปี ลอกแบบตัวอักษร,ตัวเลข (เขียนตัวหนังสือได้ในขนาดปกติ 0.5 ซม.)
ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็นและการควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills and Visual Motor Control ) ...คือ ?
ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills ) คือ
ความสามารถในการลอกรูปทรง,ตัวหนังสือหรือตัวเลขโดยใช้การมองเห็น
ความสามารถในการจำแนกตัวหนังสือกับตัวเลข
ความสามารถในการเขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขให้อยู่ในเส้นบรรทัด
การควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Control ) คือ ความสามารถด้านสหสัมพันธ์ของตา,แขนและมือ เช่น การลากเส้นหรือระบายสีให้อยู่ในรูปภาพ
การรับรู้ทางสายตา ( Visual Perception ) ...คือ ?
หมายถึง ความสามารถในการแปลผลข้อมูลและรู้ความหมายของสิ่งที่เห็น เด็กจะต้องมีความสามารถในการจดจำตัวหนังสือและแยกแยะตัวหนังสือที่คล้ายกัน เช่น ด กับ ค หรือ ถ กับ ภ
การรับรู้ทางสายตาแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
สหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand coordination ) คือ สหสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมือและตา เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวเล็กหรือใหญ่เกินเส้นบรรทัด
การแยกภาพออกจากพื้น ( Figure-Ground Discrimination ) คือ ความสามารถในการแยกแยะวัตถุหรือรูปทรงออกจากพื้นของรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำที่เขียนได้
ความคงที่ของวัตถุ ( Form Constancy ) คือ ความสามารถในการรับรู้รูปทรงที่มีความแตกต่างกันด้าน ขนาด แสงเงา พื้นผิว และทิศทางการจัดวางรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กไม่สามารถจำตัวหนังสือที่เขียนในขนาดหรือสีที่ต่างกัน
ตำแหน่งในที่ว่าง ( Position in Space ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่ง ทิศทางของภาพที่เหมือนหรือต่างกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวหนังสือกลับด้าน
มิติสัมพันธ์ ( Spatial Relations ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายสัมพันธ์กับที่ว่างและสามารถที่จะรับรู้ตำแหน่งของวัตถุสัมพันธ์กับตนเองหรือสัมพันธ์กับวัตถุอื่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะมีปัญหาในการเรียงลำดับตัวอักษรในคำต่างๆ
การเติมเต็มของภาพที่ขาดหายไป ( Visual Closure ) คือ ความสามารถในการบอกว่ารูปทรงหรือรูบภาพนั้นเป็นอะไรเมื่อมองเห็นรูปภาพที่ไม่สมบูรณ์ของมัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถเติมเต็มตัวอักษรหรือคำที่ขาดหายไปบางส่วนได้
ความจำทางสายตา ( Visual Memory ) คือ ความสามารถในการจำลักษณะเด่นของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งๆหรือสามารถจำการเรียงลำดับของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งที่มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำหรือตัวอักษรได้
ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills ) ...คือ ?
เด็กที่มีความบกพร่องในด้านการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็กจะมีความยากลำบากในการติดกระดุมหรือดีดนิ้ว,จับดินสอไม่ถูก(จับในท่ากำทั้งมือ) และขาดความสามารถในการทำงานที่ละเอียด เช่น การร้อยลูกปัดหรือการต่อเลโก้
การควบคุมการทรงท่าของลำตัว ( Trunk Control ) ...คือ ?
หมายถึง ความแข็งแรงและความมั่นคงของลำตัว แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
Posture and Balance คือ การทรงท่าและการทรงตัว เด็กจะต้องนั่งตัวตรง ศีรษะตั้งตรงบนเก้าอี้ โดยไม่มีการประคองด้วยแขน ถ้าเด็กใช้แขนในการนั่งจะทำให้การจับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ
Upper Extremity Control คือ การควบคุมการทำงานตั้งแต่ไหล่ถึงนิ้วมือให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำทั้งในเรื่องของทิศทาง ระยะทางและการกะแรง เช่น การออกแรงในการดึงเชือกลากของ กับการดึงทิชชู่
จะรู้ได้อย่างไรว่า..... เด็กมีปัญหาด้านการควบคุมการทรงท่าของลำตัว
สังเกตได้จากในระหว่างที่เด็กระบายสีหรือเขียน ตัวเด็กหรือแขนจะค่อยๆเอียงหรือเอนพิงโต๊ะ หรือเอาหัวนอนบนมือ
ความมั่นคงของข้อไหล่ ( Shoulder Stability ) ...คือ ?
หมายถึง การทำงานพร้อมกันของกล้ามเนื้อต่างๆรอบไหล่ เพื่อพยุงให้ข้อต่อมั่นคง เมื่อมีการเขียนมันจะทำงานอย่างช้าๆเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของไหล่ ถ้าเด็กมีความบกพร่องด้านนี้จะทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อต่อให้มั่นคงได้ ถ้าข้อต่อนี้หลวมการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กในการเขียนก็จะเป็นไปได้ยากซึ่งย่อมส่งผลกระทบกับทักษะการเขียนอย่างแน่นอน
d(^_^)d
ตอบลบ